คณะกรรมการชุดย่อย
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2558 คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยขึ้นมา 4 ชุด เพื่อทำหน้าที่ช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อยทุกชุดจะปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร ซึ่งกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน
คณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อช่วยงานของคณะกรรมการบริษัทในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในการสอบทานคุณภาพและความน่าเชื่อถือของระบบบัญชี ระบบตรวจสอบ ระบบควบคุมภายใน ตลอดจนกระบวนการรายงานทางการเงินของบริษัท โดยมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ข้อบังคับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 คณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วยกรรมการอิสระจำนวน 3 ท่าน ได้แก่
ชื่อ – สกุล | ตำแหน่ง |
1. พลเอกสิทธิศักดิ์ เทภาสิต | ประธานกรรมการตรวจสอบ |
2. นายสุชาติ เหล่าปรีดา | กรรมการตรวจสอบ |
3. นายพนิต ภู่จินดา | กรรมการตรวจสอบ |
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน มีหน้าที่เสนอแนะ โครงสร้าง ขนาดและองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ พร้อมทั้งกำหนดคุณสมบัติ กระบวนการ และหลักเกณฑ์ในการสรรหาผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อรับการคัดเลือกตามโครงสร้าง จำนวน และ องค์ประกอบของคณะกรรมการตามที่ได้กำหนดไว้ พร้อมทั้งพิจารณาและเสนอรายชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ รวมถึง กรรมการผู้อำนวยการ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการและที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาต่อไป อีกทั้งพิจารณาและเสนอแนะค่าตอบแทนรวมถึงประเมินประสิทธิภาพการทำงานของตำแหน่งดังกล่าว เพื่อให้บริษัทมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนของบริษัทจำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วย
ชื่อ-สกุล | ตำแหน่ง / ประเภทกรรมการ |
1. นายสุชาติ เหล่าปรีดา | ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน, กรรมการอิสระ |
2. นายปยุต ภูวกุลวงศ์ | ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน, กรรมการอิสระ |
3. นางสาวณติกา ประดุจธนโชติ | กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน |
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของบริษัท ซึ่งครอบคลุมถึงความเสี่ยงประเภทต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงด้านการเงิน ความเสี่ยงด้านการลงทุน และความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อชื่อเสียงของกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีจำนวน 6 ท่าน จากเดิม 7 ท่าน (เนื่องจากพ้นวาระจากการดำรงตำแหน่งและไม่ได้ต่อวาระ) ประกอบด้วย
ชื่อ-สกุล | ตำแหน่ง / ประเภทกรรมการ |
1. นายปยุต ภูวกุลวงศ์ | ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง, กรรมการ |
2. นายสุชาติ เหล่าปรีดา | กรรมการบริหารความเสี่ยง, กรรมการอิสระ |
3. นายพนิต ภู่จินดา | กรรมการบริหารความเสี่ยง, กรรมการอิสระ |
4. นางปรีญาภรณ์ ตั้งเผ่าศักดิ์ | กรรมการบริหารความเสี่ยง, กรรมการ |
5. นางสาวปรียาพรรณ ภูวกุล | กรรมการบริหารความเสี่ยง, กรรมการ |
6. นายเสถียร ตันธนะสฤษดิ์ | กรรมการบริหารความเสี่ยง |
คณะกรรมการบริหาร
คณะกรรมการบริหาร มีหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และนโยบายของคณะกรรมการบริษัท กฎหมาย เงื่อนไข กฎระเบียบและข้อบังคับของบริษัท คณะกรรมการบริหารจะต้องใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจทางธุรกิจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทและผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 คณะกรรมการบริหารมีจำนวน 7 ท่าน จากเดิม 6 ท่าน (เนื่องจากได้รับการแต่งตั้งใหม่ 2 ท่าน และเกษียณอายุ 1 ท่าน) ประกอบด้วย
ชื่อ-สกุล | ตำแหน่ง / ประเภทกรรมการ |
1. นางปรีญาภรณ์ ตั้งเผ่าศักดิ์ | ประธานกรรมการบริหาร, กรรมการ |
2. นายปยุต ภูวกุลวงศ์ | รองประธานกรรมการบริหาร, กรรมการ |
3. นางสาวปรียาพรรณ ภูวกุล | กรรมการบริหาร, กรรมการ |
4. นายสมบุญ เศรษฐ์สันติพงศ์ | กรรมการบริหาร |
5. นางสมร ดีเส็ง | กรรมการบริหาร |
6. นายพิชิต สถาปัตยานนท์ | กรรมการบริหาร |
7. นายเทพฤทธิ์ ฤทธิ์ทองพิทักษ์ | กรรมการบริหาร |
กฎบัตรของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
บริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน)
กฎบัตรฉบับนี้จัดทำโดย บริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด(มหาชน) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัทจะสอบทานและประเมินกฎบัตรฉบับนี้เป็นประจำทุกปี
วัตถุประสงค์
เพื่อให้การจัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงสอดคล้องกับแนวทางพึงปฏิบัติและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ( Good Governance ) อีกทั้งเพื่อให้ผู้บริหารและพนักงานได้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในส่วนที่ผู้บริหารและพนักงานเกี่ยวข้อง
โครงสร้างของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจะถูกแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท โดยคณะกรรมการประกอบด้วย
- กรรมการอิสระอย่างน้อย 1 คน
- MD หรือ CEO หรือ กรรมการผู้อำนวยการ
- ผู้บริหาร
วาระในการดำรงตำแหน่ง
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี และตามวาระการดำรงตำแหน่งของการเป็นกรรมการบริษัท กรรมการบริหารความเสี่ยงซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
- นำเสนอคณะกรรมการบริษัทในการกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงและระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้
- กำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Policy) โดยรวมของบริษัทซึ่งครอบคลุมถึงความเสี่ยงประเภทต่างๆที่สำคัญเช่น ความเสี่ยงด้านการเงิน ความเสี่ยงด้านการลงทุนและความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อชื่อเสียงของกิจการ เป็นต้น เพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริษัทให้ความเห็นชอบ
- กำหนดแผน กรอบ และกระบวนการบริหารความเสี่ยงของบริษัท ให้สอดคล้องกับนโยบายบริหารความเสี่ยง และติดตามการนำไปปฏิบัติ รวมทั้งการสอบทานประสิทธิผลของกรอบการบริหารความเสี่ยง
- สอบทานรายงานการบริหารความเสี่ยง และดำเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการจัดการความเสี่ยงมีความเพียงพอและเหมาะสม สามารถจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และการบริหารความเสี่ยงได้ถูกนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
- พัฒนาและทบทวนระบบการจัดการบริหารความเสี่ยงของบริษัทให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง โดยมีการประเมินผลและติดตามกระบวนการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องตามนโยบายที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ
- จัดให้มีคณะทำงานบริหารความเสี่ยงตามความจำเป็น รวมถึงสนับสนุนคณะทำงานบริหารความเสี่ยงในด้านบุคลากร งบประมาณ และทรัพยากรอื่นที่จำเป็น ให้สอดคล้องกับขอบเขตความรับผิดชอบ
- ประสานงานร่วมกับคณะกรรมการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอโดยการแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อบริษัท
- ดำเนินการตัดสินใจและให้คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
- นำเสนอรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อรับทราบ และ/หรือ พิจารณาทุก 6 เดือน
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
การประชุมและรายงาน
- คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง จัดให้มีหรือเรียกประชุมตามที่เห็นสมควร อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี และมีอำนาจในการเรียกประชุมเพิ่มได้ตามความจำเป็น โดยองค์ประชุมประกอบด้วย กรรมการบริหารความเสี่ยง ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการทั้งหมด
- ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง เป็นประธานที่ประชุม ในกรณีที่ ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง ไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ กรรมการบริหารความเสี่ยง ที่มาประชุมเลือก กรรมการบริหารความเสี่ยง คนหนึ่งเป็นประธานที่ประชุม
- การลงมติของ กรรมการบริหารความเสี่ยง กระทำได้โดยถือเสียงข้างมาก ทั้งนี้ กรรมการบริหารความเสี่ยง ที่มีส่วนได้เสียใดๆ ในเรื่องที่พิจารณา จะต้องไม่เข้าร่วมในการแสดงความเห็น และไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติในเรื่องนั้นๆ
- การจัดส่งหนังสือเชิญประชุมให้แก่ กรรมการบริหารความเสี่ยง ให้จัดส่งล่วงหน้าก่อนการประชุม เว้นแต่ในกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วน จะแจ้งการนัดประชุมโดยวิธีอื่น หรือกำหนดวันประชุมให้เร็วกว่านั้นได้ โดยให้ เลขานุการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เป็นผู้บันทึกรายงานการประชุม
- คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง สามารถเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงต่างๆ ให้แก่ที่ประชุม คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทราบได้
ประกาศเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560
กฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
บริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน)
กฎบัตรฉบับนี้จัดทำโดย บริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน) คณะกรรมการของบริษัทจะสอบทานและประเมินกฎบัตรฉบับนี้เป็นประจำทุกปี
วัตถุประสงค์
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัท เพื่อส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยรับผิดชอบในการกำหนดหลักเกณฑ์และนโยบายในการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนกรรมการบริษัท และกรรมการชุดย่อย รวมทั้งสรรหา คัดเลือก และเสนอบุคคลที่เหมาะสมให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทและกำหนดค่าตอบแทนสำหรับกรรมการบริษัท ตลอดจนปฏิบัติงานด้านอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายและนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท และ/หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้วแต่กรณี
องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
- คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท และประกอบด้วยกรรมการและผู้บริหารอย่างน้อย 3 คน โดยกรรมการไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดจะต้องเป็นกรรมการอิสระ
- กรรมการอิสระ ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
วาระการดำรงตำแหน่ง
- กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี
- กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน อาจได้รับการแต่งตั้งกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งต่อไปได้อีกตามที่คณะกรรมการบริษัทเห็นว่าเหมาะสม
- นอกเหนือจากการพ้นจากตำแหน่งตามข้อ 1 กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน จะพ้นตำแหน่งเมื่อ
- ลาออก
- คณะกรรมการบริษัทมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง
4. คณะกรรมการบริษัท มีอำนาจในการแต่งตั้งกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนเพิ่มเติม เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตาม
วัตถุประสงค์ หรือเพื่อทดแทนกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนที่พ้นจากตำแหน่งตามข้อ 1 หรือ 3 ได้ โดยบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้ง
เข้าเป็นกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ทดแทนตามข้อ 3 จะอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการสรรหาและ
กำหนดค่าตอบแทน ซึ่งตนแทนเท่านั้น
ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท โดยมีขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้
การสรรหา
- กำหนดหลักเกณฑ์และนโยบายในการสรรหากรรมการบริษัท และกรรมการชุดย่อย โดยพิจารณาความเหมาะสมของจำนวน โครงสร้าง และองค์ประกอบของคณะกรรมการกำหนดคุณสมบัติของกรรมการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท และ/หรือเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้วแต่กรณี
- พิจารณาสรรหา คัดเลือก และเสนอบุคคลที่เหมาะสมให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท ที่ครบวาระ และ/หรือ มีตำแหน่งว่างลง และ/หรือ แต่งตั้งเพิ่ม
- พิจารณารายชื่อบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อมา และคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนดไว้
- ดำเนินการทาบทามบุคคลที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนดไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าบุคคลดังกล่าวมีความยินดีที่จะมารับตำแหน่งกรรมการของบริษัท หากได้รับการแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้น
- ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวกับการสรรหาตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย
- ประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการผู้อำนวยการ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัททราบเพื่อพิจารณาอนุมัติ
การกำหนดค่าตอบแทน
- จัดทำหลักเกณฑ์และนโยบายในการกำหนดค่าตอบแทนของคณะกรรมการบริษัท และกรรมการชุดย่อย เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท และ/หรือเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้วแต่กรณี
- กำหนดค่าตอบแทนที่จำเป็นและเหมาะสมทั้งที่เป็นตัวเงินและมิใช่ตัวเงินของคณะกรรมการ บริษัทเป็นรายบุคคลในแต่ละปี โดยพิจารณาความเหมาะสมกับภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ ผลงาน และเปรียบเทียบกับบริษัทในธุรกิจที่คล้ายคลึงกัน และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากกรรมการ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาและนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติ
- รับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท และมีหน้าที่ให้คำชี้แจง ตอบคำถามกับค่าตอบแทนของกรรมการบริษัทในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
- พิจารณาเกณฑ์การประเมินผลงานกรรมการผู้อำนวยการ รองกรรมการผู้อำนวยการตามสายงาน และผู้บริหารระดับสูงตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
- รายงานนโยบาย หลักการ/เหตุผลของการกำหนดค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยเปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (56-1) และรายงานประจำปี ของบริษัทฯ
- กำหนดค่าตอบแทนประจำปีของกรรมการ กรรมการผู้อำนวยการ รองกรรมการผู้อำนวยการตามสายงาน และผู้บริหารระดับสูง ตามหลักเกณฑ์การจ่ายได้พิจารณาไว้ และนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่ออนุมัติค่าตอบแทนของกรรมการผู้อำนวยการ รองกรรมการผู้อำนวยการตามสายงาน และผู้บริหารระดับสูง ส่วนของกรรมการ ให้คณะกรรมการบริษัทนำเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติ
- พิจารณาความเหมาะสมและให้ความเห็นชอบ ในกรณีที่มีการเสนอขายหลักทรัพย์ใหม่ให้กรรมการและพนักงานโดยยึดหลักให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้น และสร้างแรงจูงใจให้กรรมการและพนักงานปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผู้ถือหุ้นในระยะยาวและสามารถรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพได้อย่างแท้จริง
- ปฏิบัติการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดค่าตอบแทนตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายโดยฝ่ายบริหาร และหน่วยงานต่างๆ จะต้องรายงานหรือนำเสนอข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อ คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของ คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ให้บรรลุตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
การรายงาน
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน รายงานต่อคณะกรรมการบริษัท
การประชุม
- คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน จัดให้มีหรือเรียกประชุมตามที่เห็นสมควร อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และมีอำนาจในการเรียกประชุมเพิ่มได้ตามความจำเป็น โดยองค์ประชุมประกอบด้วย กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
- กรรมการทุกท่านควรเข้าร่วมประชุมทุกครั้ง ยกเว้นมีเหตุจำเป็นไม่อาจเข้าร่วมประชุมได้ ควรแจ้งให้ ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนทราบล่วงหน้า
- ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน เป็นประธานที่ประชุม ในกรณีที่ ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนที่มาประชุมเลือกกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน คนหนึ่งเป็นประธานที่ประชุม
- การลงมติของกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน กระทำได้โดยถือเสียงข้างมาก ทั้งนี้ กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ที่มีส่วนได้เสียใดๆ ในเรื่องที่พิจารณา จะต้องไม่เข้าร่วมในการแสดงความเห็น และไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติในเรื่องนั้นๆ
- การจัดส่งหนังสือเชิญประชุมให้แก่กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ให้จัดส่งล่วงหน้าก่อนการประชุม เว้นแต่ในกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วน จะแจ้งการนัดประชุมโดยวิธีอื่น หรือกำหนดวันประชุมให้เร็วกว่านั้นได้ โดยให้เลขานุการคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน เป็นผู้บันทึกรายงานการประชุม
- คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน สามารถเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงต่างๆ ให้แก่ที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนทราบได้
ประกาศ ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560
กฎบัตรคณะกรรมการบริหาร
บริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด
กฎบัตรฉบับนี้จัดทำโดยบริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด คณะกรรมการจะสอบทานและประเมินกฎบัตรฉบับนี้เป็นประจำทุกปี
วัตถุประสงค์
คณะกรรมการบริหารถูกแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท เพื่อเข้ามาบริหารจัดการและควบคุมกิจการของบริษัทตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายให้ปฏิบัติงาน
องค์ประกอบและคุณสมบัติ
1. คณะกรรมการบริหารไม่จำเป็นต้องเป็นกรรมการบริษัท
2. คณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วยคณะกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 4 คนแต่ไม่มากกว่า 10 คน
3. การแต่งตั้งกรรมการบริหาร ต้องผ่านกระบวนการสรรหาของคณะกรรมการบริษัท ต้องมีรายละเอียดประวัติการศึกษา และประสบการณ์การประกอบวิชาชีพของบุคคลนั้นๆ เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจของกรรมการบริษัท
4. ประธานคณะกรรมการบริหารเป็นกรรมการผู้อำนวยการ ซึ่งขอบเขตอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบเป็นไปตามกฎบัตรกรรมการผู้อำนวยการ
คุณสมบัติของกรรมการบริหาร
1. กรรมการต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ และมีเวลาเพียงพอที่จะอุทิศความรู้ ความสามารถและปฏิบัติหน้าที่ให้แก่บริษัทได้
2. มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร
1. พิจารณาและกำหนดเป้าหมาย และแผนธุรกิจของบริษัท กำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และนโยบายของคณะกรรมการบริษัท กฎหมาย เงื่อนไข กฎระเบียบและข้อบังคับของบริษัทฯ
2. กำหนดแนวทางการดำเนินกิจการ การพัฒนา และการขยายธุรกิจให้เป็นไปตามแนววิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์นโยบายและมติคณะกรรมการบริษัท
3. แต่งตั้งผู้บริหารบริษัท เพื่อปฏิบัติหน้าที่ทุกตำแหน่งเว้นแต่การแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท รวมทั้งสามารถมอบอำนาจให้บุคคลใด ๆ ไปดำเนินการแทนในเรื่องใด ๆ ที่อยู่ในหน้าที่และรับผิดชอบตามที่คณะกรรมการบริหารเห็นสมควร
4. กำหนดระเบียบปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อข้อบังคับและกฎหมายที่กี่ยวข้อง
5. พิจารณาให้ความเห็นชอบโครงสร้างตำแหน่งและโครงสร้างเงินเดือนและผลประโยชน์ตอบแทนอื่น ๆ ของพนักงาน ตลอดจนให้ความเห็นชอบโครงสร้างการบริหารตั้งแต่ระดับฝ่ายลงไป
6. พิจารณาอนุมัติแผนงบประมาณประจำปี กำกับดูแลและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามนโยบาย เป้าหมาย แผนงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ พิจารณาอนุมัติเงินโบนัสและรางวัลพนักงาน ผลประโยชน์อย่างอื่นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจพนักงาน
7. ดูแลให้บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมรัดกุม
8. พิจารณาเรื่องอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
9. ให้มีอำนาจตัดสินใจในเรื่องการดำเนินงานที่สำคัญของบริษัท โดยกำหนดขอบเขต ประเภท หรือขนาดของกิจการ วัตถุประสงค์ แนวทางและนโยบายของบริษัทภายในขอบเขตอำนาจที่ได้รับมอบหมาย รวมถึงการกำกับดูแลการดำเนินงานโดยรวม ผลผลิต ความสัมพันธ์กับลูกค้า และต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการ
10. พิจารณาเรื่องการลงทุนขยายงาน รวมถึงการซื้อขายสินทรัพย์ถาวรของบริษัทฯ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท
11. มีอำนาจกระทำการและแสดงตนเป็นตัวแทนของกิจการต่อบุคคลภายนอกในกิจการที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อกิจการ
12. พิจารณาเรื่องการระดมทุนของบริษัทฯเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท
13. อนุมัติการแต่งตั้งที่ปรึกษาด้านต่างๆที่จำเป็นต่อการดำเนินงานของกิจการ
14. ดำเนินกิจการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานโดยทั่วไปของกิจการ
15. พิจารณาอนุมัติแผนการปฏิบัติของแต่ละฝ่ายงานของบริษัท และพิจารณาอนุมัติคำขอจากฝ่ายงานต่างๆ ของบริษัทที่เกินอำนาจสั่งการของฝ่ายงานนั้น
16. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารดังกล่าว คณะกรรมการบริหารอาจจะมอบหมาย และกำหนดอำนาจหน้าที่ให้กรรมการบริหารแต่ละคนสามารถดำเนินการภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ตามข้อ 3. ก็ได้ โดยกรรมการบริหารดังกล่าวจะต้องรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายนั้นโดยตรงต่อคณะกรรมการบริหาร
17. ให้ประธานกรรมการบริหารดำเนินการให้เป็นไปตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่กล่าวมาข้างต้นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ทั้งนี้ อำนาจในการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น ไม่รวมถึงการมอบอำนาจที่ทำให้ประธานกรรมการบริหารสามารถ
อนุมัติรายการที่ตนหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง มีส่วนได้เสียหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดกับบริษัทหรือบริษัทย่อย และไม่รวมถึงการดำเนินการเกี่ยวกับรายการที่เกี่ยวโยงกัน และรายการได้มาจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่สำคัญของบริษัทจดทะเบียน ตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ และบริษัทจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบ และข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ นอกจากนี้ อำนาจดังกล่าวข้างต้นไม่รวมถึงเรื่องอื่น ๆ ที่ข้อบังคับของบริษัทกำหนดให้ต้องขออนุมัติจากมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
การจัดการประชุม
คณะกรรมการบริหารจะต้องจัดให้มีหรือเรียกประชุมตามที่เห็นสมควร
ประกาศ ณ วันที่ 20 มกราคม 2558
กฎบัตรกรรมการผู้อำนวยการ
บริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด
ขอบเขต อำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการผู้อำนวยการ
- ปฏิบัติตามกฎหมายต่าง ๆ รวมถึง กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ประกาศอื่นใด กฎ ระเบียบ และ/หรือข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นและที่ประชุมคณะกรรมการ
- ดูแล บริหาร ดำเนินงาน และปฏิบัติงานประจำตามปกติธุรกิจเพื่อประโยชน์ของบริษัทให้เป็นไปตามนโยบาย วิสัยทัศน์ เป้าหมาย แผนการดำเนินธุรกิจ และงบประมาณที่กำหนดโดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท
- บริหารจัดการการดำเนินงานของบริษัทให้เป็นไปตามภารกิจหลัก (Mission) ที่กำหนดโดยคณะกรรมการบริษัทเพื่อให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินธุรกิจ และงบประมาณของบริษัท และกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดโดยคณะกรรมการบริษัท
- กำกับดูแลการดำเนินการด้านการเงิน การตลาด งานบริหารบุคคล และด้านการปฏิบัติงานอื่นๆ โดยรวมเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแผนการดำเนินงานของบริษัทที่กำหนดไว้โดยคณะกรรมการบริษัท
- มีอำนาจจ้าง แต่งตั้ง โยกย้าย ปลดออก เลิกจ้าง กำหนดอัตราค่าจ้างและค่าตอบแทนสำหรับพนักงานบริษัท โดยสามารถแต่งตั้งผู้รับมอบอำนาจช่วงให้ดำเนินการแทนได้
- กำหนดบำเหน็จรางวัล ปรับขึ้นเงินเดือน ค่าตอบแทน เงินโบนัสพิเศษ นอกเหนือจากโบนัสปกติประจำของพนักงานบริษัทตั้งแต่ระดับรองกรรมการผู้อำนวยการลงไป
- เจราจา และเข้าทำสัญญา และ/หรือ ธุรกรรมใดๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจปกติของบริษัท โดยวงเงินสำหรับแต่ละรายการให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในอำนาจดำเนินการที่ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทแล้ว
- ออกคำสั่ง ระเบียบ ประกาศ และบันทึกต่าง ๆ ภายในบริษัท เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทเป็นไปตามนโยบายและเพื่อผลประโยชน์ของบริษัท รวมถึงรักษาระเบียบวินัยภายในองค์กร
- มีอำนาจในการกำหนดเงื่อนไขทางการค้า เพื่อประโยชน์ของบริษัท
- พิจารณาการลงทุนในธุรกิจใหม่ หรือการเลิกธุรกิจ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหาร และ/หรือกรรมการบริษัท
- อนุมัติและแต่งตั้งที่ปรึกษาด้านต่างๆที่จำเป็นต่อการดำเนินงาน
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท รวมทั้งมีอำนาจดำเนินการใดๆ ที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
- ให้มีอำนาจในการมอบอำนาจช่วง และ/หรือมอบหมายให้บุคคลอื่นปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนได้ โดยการมอบอำนาจช่วง และ/หรือการมอบหมายดังกล่าวให้อยู่ภายในขอบเขตแห่งการมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจที่ให้ไว้ และ/หรือให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อกำหนด หรือคำสั่งที่คณะกรรมการของบริษัทได้กำหนดไว้ ทั้งนี้ การมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการผู้อำนวยการนั้น จะต้องไม่มีลักษณะเป็นการมอบอำนาจ หรือมอบอำนาจช่วงที่ทำให้กรรมการผู้อำนวยการ หรือผู้รับมอบอำนาจจากกรรมการผู้อำนวยการ สามารถอนุมัติรายการที่ตน หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง (ตามที่นิยามไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน) อาจมีส่วนได้เสีย หรืออาจได้รับประโยชน์ในลักษณะใดๆ หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใดกับบริษัท ยกเว้นเป็นการอนุมัติรายการที่เป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาอนุมัติไว้
ประกาศ ณ วันที่ 20 มกราคม 2558